ความเป็นมาของโครงการกำลังใจ
โครงการกำลังใจในพระดำริพระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงดำริให้จัดตั้งโครงการกำลังใจ
เพื่อประทานความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ต้องการโอกาสในสังคมไทย เนื่องด้วยทรงดำริว่า
ทุกคนในสังคมจะอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุขก็ต่อเมื่อรู้จักรักษาสิทธิของตน
โดยไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น กระบวนการยุติธรรมเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้ทุกคนเคารพสิทธิของผู้อื่น ซึ่งเมื่อกระบวนการยุติธรรมดำเนินไปจนถึงที่สุดแล้ว
ผู้ที่ได้รับผลทุกฝ่ายในสังคมก็น่าที่จะได้มีโอกาสอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขอีกครั้งหนึ่ง
แต่กระนั้นในบางครั้ง กลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมเหล่านี้
ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้ต้องขัง กลุ่มผู้ถูกคุมประพฤติ หรือผู้ที่เป็นจำเลย กลับมิได้รับโอกาสเท่าที่ควร ในการที่จะกลับมาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมส่วนรวม ส่งผลให้บุคคลเหล่านี้ขาดโอกาสที่จะดำเนินชีวิตดังที่ควร ทรงดำริว่าผลงานจากโครงการกำลังใจ จะช่วยให้กลุ่มบุคคลเหล่านี้ตระหนักว่ายังมีผู้ที่เต็มใจจะให้โอกาส และเอาใจช่วยให้พวกเขาสามารถเอาชนะปัญหาและอุปสรรคต่างๆได้ และเมื่อทุกคนได้รับโอกาสที่สมควรแล้วจะต้องรู้จักในการเคารพสิทธิของผู้อื่น ซึ่งนอกจากจะช่วยลดการกระทำผิด
ซ้ำซ้อน และเปิดโอกาสให้บุคคลเหล่านี้กลับมาเป็นประชากรที่มีคุณภาพแล้ว
ยังมีส่วนที่จะช่วยให้สังคมส่วนรวมกลับมาอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขอีกด้วย
วัตถุประสงค์ "โครงการกำลังใจ"
1. |
เพื่อให้ความช่วยเหลือและเป็นกำลังใจให้กับกลุ่มผู้ที่ก้าวพลาดทำให้ชีวิตต้องเข้ามาเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมและผู้ขาดโอกาสกลุ่มอื่นๆ ให้สามารถมีโอกาสกลับมาดำรงชีวิตเป็นคนดีของสังคมได้อย่างปกติสุข |
2. |
เพื่อให้ผู้มีจิตกุศลและมีจิตศรัทธา ได้รับทราบและสามารถมีส่วนร่วมให้การช่วยเหลือ สนับสนุนแก่กลุ่มผู้ต้องการกำลังใจและผู้ขาดโอกาสเหล่านี้ ดังพระดำริของพระเจ้าหลานเธอฯ |
3. |
เพื่อส่งเสริมให้สังคมไทยเป็นสังคมที่พร้อมจะเป็นกำลังใจและให้โอกาสแก่ผู้ที่แม้ชีวิตจะเคยก้าวพลาดแต่ก็พร้อมที่จะเริ่มชีวิตใหม่เป็นคนดีของสังคม |
4. |
เพื่อเผยแพร่พระดำริเกี่ยวกับการประทานกำลังใจให้แก่กลุ่มผู้ต้องการกำลังใจและโอกาสเหล่านี้ต่อสาธารณชน |

เป้าหมาย "โครงการกำลังใจ"
โครงการกำลังใจ มีเป้าหมายที่จะดำเนินกิจกรรมที่เป็นการเสริมและไม่ซ้ำซ้อนกับสิ่งที่ทางราชการได้ดำเนินการอยู่แล้ว โดยจะเลือกกลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรมที่น่าจะเป็นประโยชน์สูงสุด และช่วยส่งเสริมและพัฒนาสิ่งที่ทางราชการไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากขาดแคลนปัจจัยต่างๆ โดยมีกลุ่มเป้าหมายได้แก่ กลุ่มผู้ต้องขังสตรี กลุ่มเด็กติดผู้ต้องขัง กลุ่มเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดและกลุ่มผู้ขาดโอกาสอื่นๆ ในกระบวนการยุติธรรม
นอกจากการให้กำลังใจและให้โอกาสแก่กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวแล้ว โครงการฯ ยังมีเป้าหมายสำคัญในการรณรงค์ให้สังคมไทย เป็นสังคมที่พร้อมจะเป็นกำลังใจ และให้โอกาสแก่บุคคลที่แม้จะก้าวพลาดแต่ก็ได้เรียนรู้ที่จะเริ่มชีวิตใหม่เป็นคนดีของสังคม
ประโยชน์ที่ได้รับ "โครงการกำลังใจ"
|